วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

ด้วงหนวดยาว

ด้วงหนวดยาว




ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ
Stem boring grub
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dorysthenes (Lophosternus)bugueti Guerin
วงศ์
Cerambycidae
อันดับ
Coleoptera
ความเสียหาย/ลักษณะการทำลาย
เป็นด้วงหนวดยาวที่ได้รับการรายงานครั้งแรกว่า เข้าทำลายอ้อยในประเทศไทย ส่วนในประเทศอื่นรายงานว่า หนอนของด้วงหนวดยาวคือ Dorsythenes  hyfropicus  Pasc.  เป็นแมลงในดินที่เข้าทำลายอ้อยในไต้หวัน โดยเจาะเข้าไปในส่วนของลำต้นอ้อยที่อยู่ใต้ดินและทำให้อ้อยที่ถูกเจ้าตาย  เป็นแมลงที่สำคัญชนิดหนึ่งของอ้อย มักพบระบาดมากในดินร่วมปนทรายที่มี pH 6.9 ดินมีอินทรียวัตถุ 1.15-1.22 % แมลงชนิดนี้ทำความเสียหายให้แก่อ้อยได้มากกว่าแมลงนูนหลวง เพราะมักแพร่กระจายไปทั่วไร่อ้อยที่ถูกทำลายในบริเวณกว้างขวาง ผลจากการเข้าทำลายของหนอนชนิดนี้ทำให้ผลผลิตอ้อลผลูกลดลง 13-43% และน้ำตาลลดลง 11-46% ส่วนอ้อยตอ 1 จะสูญเสียผลผลิตประมาณ 54% และน้ำตาลลดลง 57% แมลงชนิดนี้เริ่มเข้าทำลายอ้อยเมื่อปี 2514 แต่สร้างความเสียหายได้มากในปี 2519-2520 และเกิดการระบาดอีกครั้งในปี 2527-2530
หนอนเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ระยะท่อนพันธุ์อ้อย โดยเจาะไชเข้าไปกัดกินเนื้ออ้อยภายในท่อนพันธุ์ มีผลทำให้ท่อนพันธุ์อ้อยไม่งอก หน่ออ้อยอายุ 1-3 เดือน จะถูกกัดตรงส่วนโคนที่ติดกับเหง้าให้ขาดออกทำให้หน่ออ้อยแห้งตาย เมื่ออ้อยโตเป็นลำแล้วอาการเริ่มแรกพบว่า กาบใบและใบอ้อยแห้งมากกว่าปกติ ตั้งแต่ใบล่างขึ้นไปจนแห้งตายไปทั้งต้นหรือทั้งกออ้อย ขณะที่หนอนยังเล็กจะกัดกินอยู่ตรงบริเวณเหง้าอ้อย ซึ่งมีผลทำให้การส่งน้ำและอาหารจากรากไปสู่ลำต้นและใบน้อยลง เมื่อหนอนโตขึ้นขนาดยาวประมาณ 40 มิลลิเมตร ก็จะเริ่มเจาะไชจากส่วนโคนลำต้นอ้อยขึ้นไปเพื่อกินเนื้ออ้อยจนบางครั้งทำให้ลำต้นอ้อยเป็นโพรงเหลือแต่เปลือก บางต้นหนอนเจาะสูงขึ้นไปจากส่วนโคนถึง 40 เซนติเมตร จนทำให้ลำต้นอ้อยหักล้มและแห้งตาย
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ
ไข่   ไข่เป็นรูปยาวรี สีน้ำตาลอ่อน ขนาดยาว 3.0-3.5 มิลลิเมตร กว้าง 0.8-1.0 มิลลิเมตร เปลือกไข่ค่อนข้างแข็ง
หนอน   ลำตัวสีขาวนวลตลอดทั้งตัว  รูปร่างแบนทรงกระบอกและแบนเล็กน้อย บริเวณอกกว้างกว่าส่วนท้องเล็กน้อย หัวกะโหลกมีสีน้ำตาลและมีขนาดเล็กกว่าลำตัวมาก ปากขนาดเล็กแต่มีเขี้ยวแข็งแรง ขามีขนาดเล็กมาจนแทบมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เมื่อโตเต็มที่มีขนาดใหญ่มาก คือ ยาว 70-100 มิลลิเมตร กว้าง 20-30 มิลลิเมตร หัวกะโหลกกว้าง 12 มิลลิเมตร
ดักแด้   มีหนวด ขา และปีกอยู่ด้านข้างลำตัว เห็นชัดเจนยาวประมาณ 40-50 มิลลิเมตร กว้าง 24-26 มิลลิเมตร
ตัวแก่   สีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ 25-40 มิลลิเมตร กว้าง 10-15 มิลลิเมตร ตัวเมียตรงปลายปล้องสุดท้ายของส่วนท้องมีลักษณะมน ส่วนตัวผู้ตรงปลายเว้าและมีขนที่หน้าอก
ตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ในดินภายหลังจากที่ฝนตก 2-4 วัน  ในเวลากลางคืน  ตั้งแต่เดือนมีนาคม– มิถุนายน และพบว่า  ออกมากที่สุดในเดือนเมษายน มีนิสัยว่องไวมากในเวลากลางคืน เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในบริเวณไร่อ้อย ส่วนในเวลากลางวันมักหลบซ่อนอยู่นิ่ง ๆ ตามโคนต้นอ้อย แม้ว่าตัวแก่จะมีปีกแข็งแรงแต่ไม่ชอบบิน หลังจากผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ในดินตรงบริเวณใกล้ ๆ โคนอ้อย ตัวแม่ตัวหนึ่ง ๆ สามารถวางไข่ได้สูงถึง 41-441 ฟอง อายุตัวแก่ประมาณ 6-20 วันก็ตาย ระยะไข่ 11-27 วัน หนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีลำตัวยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร หัวกะโหลกกว้าง 0.7 มิลลิเมตร หนอนมีการลอกคราบ 7-8 ครั้ง มี 8-9 วัย และมีอายุประมาณ 1-2 ปี หนอนชนิดนี้มีนิสัยว่องไวและสามารถเคลื่อนย้ายไปในดินได้อย่างรวดเร็ว เมื่อหนอนโตเต็มที่ก็จะเข้าดักแด้ในดินตรงบริเวณโคนกออ้อยบึกจากสันร่องลงไป 10-60 เซนติเมตร ก่อนที่หนอนจะเข้าดักแด้ หนอนจะใช้ชานอ้อยที่กัดกินจากเนื้ออ้อยจนเป็นเศษอ้อยชิ้นเล็ก ๆ มาทำเป็นรังห่อหุ้มตลอดลำตัว แล้วหนอนก็เข้าดักแด้อยู่ภายในรังนั้น ๆ รังดักแด้เป็นรูปไข่ยาวขนาด 60-70 มิลลิเมตร กว้าง 40-50 มิลลิเมตร หนอนที่เข้าดักแด้ใหม่ ๆ สีขาวนวล แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง อายุดักแด้ประมาณ 7-18 วัน ก็ออกเป็นตัวเต็มวัย ส่วนใหญ่พบหนอน 1-3 ตัวต่อกออ้อย
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
พบมากในดินร่วนทรายที่จ.ชลบุรี ระยอง และกาญจนบุรี ส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็พบเข้าทำลายอ้อยและมันสำปะหลังมากที่ขอนแก่น อุดรธานี และบุรีรัมย์ ภาคเหนือพบที่กำแพงเพชร และในต่างประเทศพบที่ตอนเหนือของอินเดีย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และลาว โดยพบว่าเข้าทำลายอ้อยได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต
พืชอาหาร
อ้อยและมันสำปะหลัง
การสุ่มตัวอย่างหลังจากตัดอ้อยเข้าโรงงาน ควรสุ่มตัวอย่างโดยวิธีเส้นทะแยงมุม หรือ ซีเควนเชียล ถ้าอ้อยถูกทำลายมากกว่า 24%กอ หรือ 7.23%ลำ ควรไถทิ้งและปลูกใหม่ ถ้าไว้ตออาจไม่คุ้มค่า จะถูกกินหมด และไม่ได้เก็บเกี่ยว
ศัตรูธรรมชาติ
เชื้อราเมตาไรเซียม หรือเชื้อราเขียว จะเข้าทำลายหนอนของด้วงหนวดยาว  โดยเป็นเชื้อราสีเขียวที่จะเข้าแมงลำตัวของหนอน ทำให้หนอนแห้งตาย และแทงเป็นเส้นใยของเชื้อราเป็นสีเขียวออกมาด้านนอกตัวหนอน
คำแนะนำการป้องกันกำจัด
1.           ขณะที่ไถไร่ ควรเดินเก็บหนอนตามรอยไถ 1-2 ครั้ง ่อนปลูกอ้อย ควรส่งเสริมให้มีการนำตัวหนอนไปประกอบอาการ
2.           ปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกมันสำปะหลังหรือสับปะรดแทน แม้ว่าหนอนชนิดนี้จะเข้าทำลายมันสำปะหลังโดยเจาะเข้าไปที่โคนต้นมันสำปะหลังให้เป็นโพรง และหักล้มในที่สุด บางครั้งพบเจาะเข้าไปกินในหัวมัน แต่การเข้าทำลายมันสำปะหลังก็รุนแรงน้อยกว่าในอ้อยมาก
3.           ในแหล่งที่พบการระบาด หลังวางท่อนพันธุ์ควรมีการฉีดพ่นด้วยสารแขวนลอยของเชื้อราเขียว จึงกลบ จะสามารถป้องกันตัวหนอนได้ประมาณ 1 ปีในกรณีที่ไม่มีตัวหนอนเข้าทำลายอ้อย แต่หากมีหนอนได้รับเชื้อราเข้าทำลาย  เชื้อราสามารถกระจายต่อไปได้เรื่อย ๆ จากตัวหนอนที่ตาย
4.           อาจใช้สารเคมีโรยในร่องอ้อย  endosuldan + fenobucarb (Thiocorb 4.5% G) อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วจึงกลบร่อง หรือ ฉuดพ่นด้วยสาร fipronil (Asscend 5% SC) อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดแล้วกลบดิน
5.           ในช่วงปลายมีนาคม-เมษายนของทุกปี ด้วงหนวดยาวอ้อยเริ่มออกจากดักแด้มาเป็นตัวเต็มวัย ใช้วิธีกลคือ ขุดหลุมดักจับ โดยตัวเมียหลังจากออกจากดักแด้จะปล่อยสารล่อทางเพศออกมา ตัวผู้ก็เดินตาม เมื่อตกลงไปในหลุมก็จะไม่สามารถขึ้นมาได้ และควรรองก้นหลุมด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันการวางไข่ของด้วงหนวดยาวได้ 
เอกสารอ้างอิง
ณัฐกฤติ  พิทักษ์. 2547. แมลงศัตรูอ้อยและการป้องกันกำจัด. หน้า 57-117. ใน เฉลิมพล  ไหลรุ่งเรือง  อุดม เลียบวัน  อรรถสิทธิ์  บุญธรรม  ประพันธ์  ประเสริฐศักดิ์  วันทนีย์  อู่วานิชย์  ณัฐกฤติ  พิทักษ์  วัลลิภา  สุชาโต  สมศักดื์  ทองศรี  และตุลย์ อินทรัมพรรย์.  เอกสารวิชาการอ้อย. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพ ฯ. 147 หน้า.


จัดทำโดย
นางสาวชุติมณฑน์ ถนอมกลิ่น เลขที่ 23 .5/3
ทีเร็กซ์ ราชาแห่งไดโนเสาร์

ที่มาและความหมายของชื่อทีเร็กซ์
               ไทแรนโนซอรัส หรือ ทิแรนโนซอรัส ชื่อวิทยาศาสตร์:Tyrannosaurus แปลว่า กิ้งก่าทรราชย์ มาจากภาษากรีก เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tyrannosaurus rex : rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ทีเร็กซ์ (T. rex) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยตลอดทั่วตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา ซึ่งกว้างกว่าไดโนเสาร์วงศ์เดียวกัน ไทแรนโนซอรัสอาศัยอยู่ใน                     รูปที่ 1 แสดงลักษณะไดโนเสาร์พันธุ์ทีเร็กซ์         ยุคครีเทเซียสตอนปลายหรือประมาณ 68 ถึง 65 ล้านปีมาแล้ว เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์พวกสุดท้ายและทีเร็กซ์เกี่ยวข้องกับนก จำพวกนกนักล่าอย่าง นกอินทรีหรือเหยี่ยว ซึ่งมีชีวิตอยู่ก่อนการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่สามในยุคครีเทเชียส
ลักษณะของทีเร็กซ์
           ไทแรนโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อ เดินสองขา มีกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ และเพื่อสร้างความสมดุลมันจึงมีหางที่มีน้ำหนักมาก มีขาหลังที่ใหญ่และทรงพลัง แต่กลับมีขาหน้าขนาดเล็ก มีสองกรงเล็บ ถึงแม้ว่าจะมีไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าไทแรนโนซอรัส เรกซ์ แตมันก็มีขนาดใหญ่ที่สุดในไดโนเสาร์วงศ์เดียวกันและเป็นหนึ่งในผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนพื้นพิภพ วัดความยาวได้ 12.3 ม.สูง 4.6 ม. จากพื้นถึงสะโพก และอาจหนักถึง 5-20 ตัน[3] ในยุคสมัยของไทแรนโนซอรัส เรกซ์ที่ยังมีนักล่าขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆนั้น ไทแรนโนซอรัส เรกซ์นั้นเป็นนักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหารในทวีปอเมริกาเหนือ เหยื่อของมันเช่น แฮโดรซอร์ และ เซอราทอปเซีย เป็นต้น ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าโดยพื้นฐานแล้วไทแรนโนซอรัส เรกซ์เป็นสัตว์กินซาก การถกเถียงในกรณีของไทแรนโนซอรัสว่าเป็นนักล่าหรือสัตว์กินซากนั้นมีมานานมากแล้วในหมู่การโต้แย้งทางบรรพชีวินวิทยา ปัจจุบัน ทีเร็กซ์นั้นสามารถ ล่าเหยื่อตัวเดียว ล่าเป็นฝูงทั้งครอบครัว และกินซาก

รูปที่ 2 แสดงลักษณะไดโนเสาร์พันธุ์ทีเร็กซ์

 รูปที่ 3 แสดงส่วนสูงทีเร็กซ์เปรียบเทียบกับมนุษย์
ขุดพบฟอสซิลทีเร็กซ์ครั้งแรก
           ฟอสซิลของ ที-เร็กซ์ นั้นถูกขุดพบครั้งแรกที่รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1892 โดยนักบรรพชีวินวิทยา Edward Drinker และ Othniel C. Marsh (หนึ่งในนักล่าฟอสซิลไดโนเสาร์ผู้โด่งดังใน Bone Wars) และในปี ค.ส. 1905 มันก็ได้ถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า  ไทรันโนซอรัส เร็กซ์โดย Barnum Brown แห่ง American Museum of Natural History

รูปที่ 4 แสดงBarnum Brown กับฟอสซิลโครงกระดูกทีเร็กซ์ตัวแรกในประวัติศาสตร์


รูปที่ 5 แสดงฟอสซิลทีเร็กซ์ตัวแรกของประวัติศาสตร์
T-Rex ที่โด่งดังที่สุด และผลกระทบของวงการฟอสซิล
           ฟอสซิล T-Rex ที่โด่งดังที่สุดคือ T-Rex Sue ที่อยู่ที่ Chicago Fields Museum (ซึ่งเป็นกระดูกไดโนเสาร์ที่อยู่ในเรื่อง Night at the Museum) ซึ่ง Sue เป็นไดโนเสาร์ที่ได้ชื่อว่าเป็นฟอสซิลที่มีราคาสูงที่สุดในประวัติศาสตร์    ซึ่งถูกขายประมูลไปในราคากว่า 8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี ค.ส. 1997 ให้แก่ Field Museum of Natural History ใน Chicago ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนจากบริษัทใหญ่ๆอย่าง McDonalds และ Walt Disney ซึ่งเหตุการณ์การขาย Sue นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโตของตลาดการสะสมโครงกระดูกไดโนเสาร์ ที่กระตุ้นให้เศรษฐีและ  นักสะสมหันมาสนใจและพยายามทุ่มเงินในการได้มาซึ่งไดโนเสาร์มาประดับบารมีใน Collection ของสะสมแปลกเป็นอย่างมาก ซึ่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบที่เกิดกับวงการการค้าขายฟอสซิลที่ยังมีอยู่ในตลาดทุกวันนี้  ตั้งแต่การลักลอบขุดฟอสซิลโดยวงการตลาดมืด รวมไปถึงการที่ทุกวันนี้ฟอสซิลไดโนเสาร์สำคัญๆที่สมบูรณ์นั้นมักตกไปอยู่ใน Private Collection ของเศรษฐีมากกว่าที่จะตกเป็นสมบัติของประชาชนใน Public Museum เนื่องจาก Museum และภาครัฐนั้นไม่มีทุนที่จะสามารถแข่งขันในการประมูลสู้กับนักสะสมได้ ประเด็นเหตุการณ์เหล่านี้มักถูกมองว่ามีต้นเหตุมาจากการขายครั้งประวัติศาสตร์ในครั้งนั้นของ Sue ที่ทำให้คนหลายคนตระหนักได้ว่า ฟอสซิลไดโนเสาร์นั้นคือแหล่งเงินชั้นเยี่ยมดีๆอย่างนึง 

รูปที่ 6 แสดงฟอสซิลที่ราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์
ลักษณะฟันของทีเร็กซ์
              ฟันไดโนเสาร์ Tyrannosaur นั้นส่วนมากจะมีรูปร่างที่ค่อนข้างอ้วนท้วม ความหนาของด้านข้างฟันมักจะมีขนาดไม่ต่ำกว่า 60% ของความหนาของฟันจากด้านหน้าไปถึงด้านหลังcross-sectionของฟันT-Rexหากดูจากตรงใต้ฟันแล้วมักจะมีรูปทรงที่มีความเป็นวงกลมอวบๆคล้ายๆกับใข่ซึ่งหากลองเอามาเปรียบเทียบกับฟันของ Carcharodontosaurus (ที่ชอบเรียกกันอย่างผิดๆว่า African T-Rex ซึ่งเป็นฟันไดโนเสาร์กินเนื้อที่นักสะสมที่ขาดประสพการณ์อาจถูกหลอกขายว่าเป็นฟัน T-Rex) จะเห็นได้ถึงความแตกต่างของรูปทรงและความอ้วนของฟันไดโนเสาร์ 2 ตระกูลนี้

รูปที่ 7 แสดงซี่ซ้ายคือฟัน Carcharodontosaurus ที่เรียวเล็กกว่า ซี่ขวาที่เป็นฟันของ T-Rex


รูปที่ 8 แสดงฟันทีเร็กซ์แบบมีรากฟัน
ที่มา
1.http://oknation.nationtv.tv/blog/FossilCollector/2013/09/29/entry-1
2.https://th.wikipedia.org/wiki/ไทแรนโนซอรัส
3.https://movie.kapook.com/view119424.html

จัดทำโดย

นางสาวชุติมณฑน์ ถนอมกลิ่น เลขที่ 23 .5/3