วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

ทีเร็กซ์ ราชาแห่งไดโนเสาร์

ที่มาและความหมายของชื่อทีเร็กซ์
               ไทแรนโนซอรัส หรือ ทิแรนโนซอรัส ชื่อวิทยาศาสตร์:Tyrannosaurus แปลว่า กิ้งก่าทรราชย์ มาจากภาษากรีก เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tyrannosaurus rex : rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ทีเร็กซ์ (T. rex) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยตลอดทั่วตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา ซึ่งกว้างกว่าไดโนเสาร์วงศ์เดียวกัน ไทแรนโนซอรัสอาศัยอยู่ใน                     รูปที่ 1 แสดงลักษณะไดโนเสาร์พันธุ์ทีเร็กซ์         ยุคครีเทเซียสตอนปลายหรือประมาณ 68 ถึง 65 ล้านปีมาแล้ว เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์พวกสุดท้ายและทีเร็กซ์เกี่ยวข้องกับนก จำพวกนกนักล่าอย่าง นกอินทรีหรือเหยี่ยว ซึ่งมีชีวิตอยู่ก่อนการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่สามในยุคครีเทเชียส
ลักษณะของทีเร็กซ์
           ไทแรนโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อ เดินสองขา มีกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ และเพื่อสร้างความสมดุลมันจึงมีหางที่มีน้ำหนักมาก มีขาหลังที่ใหญ่และทรงพลัง แต่กลับมีขาหน้าขนาดเล็ก มีสองกรงเล็บ ถึงแม้ว่าจะมีไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าไทแรนโนซอรัส เรกซ์ แตมันก็มีขนาดใหญ่ที่สุดในไดโนเสาร์วงศ์เดียวกันและเป็นหนึ่งในผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนพื้นพิภพ วัดความยาวได้ 12.3 ม.สูง 4.6 ม. จากพื้นถึงสะโพก และอาจหนักถึง 5-20 ตัน[3] ในยุคสมัยของไทแรนโนซอรัส เรกซ์ที่ยังมีนักล่าขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆนั้น ไทแรนโนซอรัส เรกซ์นั้นเป็นนักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหารในทวีปอเมริกาเหนือ เหยื่อของมันเช่น แฮโดรซอร์ และ เซอราทอปเซีย เป็นต้น ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าโดยพื้นฐานแล้วไทแรนโนซอรัส เรกซ์เป็นสัตว์กินซาก การถกเถียงในกรณีของไทแรนโนซอรัสว่าเป็นนักล่าหรือสัตว์กินซากนั้นมีมานานมากแล้วในหมู่การโต้แย้งทางบรรพชีวินวิทยา ปัจจุบัน ทีเร็กซ์นั้นสามารถ ล่าเหยื่อตัวเดียว ล่าเป็นฝูงทั้งครอบครัว และกินซาก

รูปที่ 2 แสดงลักษณะไดโนเสาร์พันธุ์ทีเร็กซ์

 รูปที่ 3 แสดงส่วนสูงทีเร็กซ์เปรียบเทียบกับมนุษย์
ขุดพบฟอสซิลทีเร็กซ์ครั้งแรก
           ฟอสซิลของ ที-เร็กซ์ นั้นถูกขุดพบครั้งแรกที่รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1892 โดยนักบรรพชีวินวิทยา Edward Drinker และ Othniel C. Marsh (หนึ่งในนักล่าฟอสซิลไดโนเสาร์ผู้โด่งดังใน Bone Wars) และในปี ค.ส. 1905 มันก็ได้ถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า  ไทรันโนซอรัส เร็กซ์โดย Barnum Brown แห่ง American Museum of Natural History

รูปที่ 4 แสดงBarnum Brown กับฟอสซิลโครงกระดูกทีเร็กซ์ตัวแรกในประวัติศาสตร์


รูปที่ 5 แสดงฟอสซิลทีเร็กซ์ตัวแรกของประวัติศาสตร์
T-Rex ที่โด่งดังที่สุด และผลกระทบของวงการฟอสซิล
           ฟอสซิล T-Rex ที่โด่งดังที่สุดคือ T-Rex Sue ที่อยู่ที่ Chicago Fields Museum (ซึ่งเป็นกระดูกไดโนเสาร์ที่อยู่ในเรื่อง Night at the Museum) ซึ่ง Sue เป็นไดโนเสาร์ที่ได้ชื่อว่าเป็นฟอสซิลที่มีราคาสูงที่สุดในประวัติศาสตร์    ซึ่งถูกขายประมูลไปในราคากว่า 8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี ค.ส. 1997 ให้แก่ Field Museum of Natural History ใน Chicago ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนจากบริษัทใหญ่ๆอย่าง McDonalds และ Walt Disney ซึ่งเหตุการณ์การขาย Sue นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโตของตลาดการสะสมโครงกระดูกไดโนเสาร์ ที่กระตุ้นให้เศรษฐีและ  นักสะสมหันมาสนใจและพยายามทุ่มเงินในการได้มาซึ่งไดโนเสาร์มาประดับบารมีใน Collection ของสะสมแปลกเป็นอย่างมาก ซึ่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบที่เกิดกับวงการการค้าขายฟอสซิลที่ยังมีอยู่ในตลาดทุกวันนี้  ตั้งแต่การลักลอบขุดฟอสซิลโดยวงการตลาดมืด รวมไปถึงการที่ทุกวันนี้ฟอสซิลไดโนเสาร์สำคัญๆที่สมบูรณ์นั้นมักตกไปอยู่ใน Private Collection ของเศรษฐีมากกว่าที่จะตกเป็นสมบัติของประชาชนใน Public Museum เนื่องจาก Museum และภาครัฐนั้นไม่มีทุนที่จะสามารถแข่งขันในการประมูลสู้กับนักสะสมได้ ประเด็นเหตุการณ์เหล่านี้มักถูกมองว่ามีต้นเหตุมาจากการขายครั้งประวัติศาสตร์ในครั้งนั้นของ Sue ที่ทำให้คนหลายคนตระหนักได้ว่า ฟอสซิลไดโนเสาร์นั้นคือแหล่งเงินชั้นเยี่ยมดีๆอย่างนึง 

รูปที่ 6 แสดงฟอสซิลที่ราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์
ลักษณะฟันของทีเร็กซ์
              ฟันไดโนเสาร์ Tyrannosaur นั้นส่วนมากจะมีรูปร่างที่ค่อนข้างอ้วนท้วม ความหนาของด้านข้างฟันมักจะมีขนาดไม่ต่ำกว่า 60% ของความหนาของฟันจากด้านหน้าไปถึงด้านหลังcross-sectionของฟันT-Rexหากดูจากตรงใต้ฟันแล้วมักจะมีรูปทรงที่มีความเป็นวงกลมอวบๆคล้ายๆกับใข่ซึ่งหากลองเอามาเปรียบเทียบกับฟันของ Carcharodontosaurus (ที่ชอบเรียกกันอย่างผิดๆว่า African T-Rex ซึ่งเป็นฟันไดโนเสาร์กินเนื้อที่นักสะสมที่ขาดประสพการณ์อาจถูกหลอกขายว่าเป็นฟัน T-Rex) จะเห็นได้ถึงความแตกต่างของรูปทรงและความอ้วนของฟันไดโนเสาร์ 2 ตระกูลนี้

รูปที่ 7 แสดงซี่ซ้ายคือฟัน Carcharodontosaurus ที่เรียวเล็กกว่า ซี่ขวาที่เป็นฟันของ T-Rex


รูปที่ 8 แสดงฟันทีเร็กซ์แบบมีรากฟัน
ที่มา
1.http://oknation.nationtv.tv/blog/FossilCollector/2013/09/29/entry-1
2.https://th.wikipedia.org/wiki/ไทแรนโนซอรัส
3.https://movie.kapook.com/view119424.html

จัดทำโดย

นางสาวชุติมณฑน์ ถนอมกลิ่น เลขที่ 23 .5/3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น